เมนู

หัมมิยคพัภะนั้น ได้แก่ ห้องเรือนยอดชั้นอากาศ หรือห้องมีหลังคา
โล้น
บทว่า กุลงฺกปาทกํ มีความว่า เราอนุญาตให้คงเชิงฝาซึ่งเลื่อนที่
ไม่ได้ เจาะไม้ตอกเดือยในไม้นน รองบนพื้นเพื่อหนุนเชิงฝาเก่า.
บทว่า ปริตฺตาณกิฏกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ติดกันสาดเพื่อ
ป้องกันฝน.
บทว่า อุทฺธาสุธํ ได้แก่ ดินเหนียวซึ่งเคล้ากับมูลโคและเถ้า.
หน้ามุขเรียกว่า เฉลียง. ขึ้นชื่อว่า ปฆนะ พึงทราบดังนี้ :-
ชนทั้งหลาย เมื่อออกและเข้า ย่อมกระทบประเทศใด. ด้วยเท้าทั้งหลาย
คำว่า ปฆนะ นี้ เป็นชื่อ องประเทศนั้นที่ชักฝาออก 2 ข้าง ทำไว้ที่ประตู
กุฎี (ได้แก่ลับแล) ปฆนะ นั้น เรียกว่า ปฆานะ บ้าง.
ระเบียงรอบห้องกลาง เรียกว่า ปกุททะ ปาฐะว่า ปกุฏฺฏํ ก็มี.
โอสารกึ นั้น ได้แก่ หน้ามุขที่หลังคา ซึ่งติดคร่าวแล้วทอด
ไม้ท่อนออกไปจากคร่าวนั้น ทำไว้ที่กุฎีที่ไม่มีระเบียง
กันสาดที่ติดห่วงกลมสำหรับเลื่อน ชื่อว่า แผงเลื่อน.

[ว่าด้วยภาชนะน้ำ-ประตู]


ภาชนะน้ำนั้น ได้แก่ ภาชนะสำหรับตักน้ำให้ดื่ม กระบวย และ
ขันอนุโลมตามสังข์ตักน้ำ.
อเปสี นั้น ได้แก่ เครื่องกั้นประตู ที่ใส่เดือยเข้าในไม้ยาวแล้วผูก
เรียวหนาม.
ปลิฆะ นั้น ได้แก่ เครื่องกันประตูที่ติดล้ออย่างที่ประตูบ้าน

[เรื่องอนาถบิณฑิกะ]


รถทั้งหลายเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อรถ
เทียมแม่ม้าอัสดร.
บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่ ผู้ประดับต่างหูแก้วมณี.
บทว่า ปรินิพฺพุโต มีความว่า เพราะไม่มีอุปธิคือกิเลส และอุปธิ
คือขันธ์ ท่านจึงกล่าวว่า ผู้เย็นสนิท ไม่มีอุปธิ.
บาทคาถาว่า สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา มีความว่า ตัดความ
ปรารถนาในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น หรือในภพทั้งปวง.
บาทคาถาว่า วิเนยฺย หทเย ทรํ ได้แก่ กำจัดความกระวนกระวาย
คือกิเลส ในจิตเสีย.
ทรัพย์สำหรับใช้หมดไป เรียกว่า ทรัพย์อันควรหมด เปลือง.
บทว่า อาเทยฺยวาโจ มีความว่า ถ้อยคำของอนาถบิณฑิกคหบดีนั้น
อันชนเป็นอันมากควรเชื่อถือ; อธิบายว่า คนเป็นอันมากย่อมสำคัญถ้อยคำของ
คหบดีนั้น ว่า อันตนควรฟัง.
สองบทว่า อาราเม อกํสุ มีความว่า ชนเหล่าใดมีทรัพย์ ชน
เหล่านั้นได้สร้างด้วยทรัพย์ของตน ชนเหล่าใดมีทรัพย์น้อย และไม่มีทรัพย์
คฤหบดีได้ให้ทรัพย์แก่ชนเหล่านั้น .
คฤหบดีนั้น ให้ทรัพย์แสนกหาปณะ และสิ่งของราคาแสนหนึ่งกระ
ทำการสร้างวิหารไว้ในระยะโยชน์หนึ่ง ในหนทางไกล 45 โยชน์แล้ว ได้ไป
กรุงสาวัตถี ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า โกฏิสนฺถรํ สนฺถราเปสิ มีความว่า ได้เรียงกหาปณะ.
ให้ริมจดกัน ในที่บางแห่งหมายเอาประมาณแห่งเครื่องล้อมของต้นไม้หรือสระ